top of page

เมฆ

 

    แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังพื้นผิวโลกทำให้อุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นน้ำสูงขึ้นน้ำจึงระเหยลอยตัวขึ้น เมื่อกระทบอากาศเย็นไอน้ำบางส่วนจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ ลอยตัวรวมกันอยู่ในอากาศ เมื่อมีจำนวนมากจะเรียกว่าเมฆถ้าหยดน้ำที่รวมกันเป็นเมฆมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอากาศไม่สามารถอุ้มไว้ได้ก็จะตกลงมาเป็น ฝน

   เมฆ คือ อนุภาคน้ำหรือผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กลอยอยู่ในอากาศ เมฆอาจประกอบด้วยน้ำหรือผลึกน้ำแข็ง

 

ชนิดของเมฆ

การแบ่งชนิดของเมฆ แบ่งตามรูปร่างลักษณะและความสูง

 แบ่งตามรูปร่างลักษณะของเมฆ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ

      1. เมฆคิวมูลัส( Cumulus Cloud)มีรูปร่างลักษณะเป็นเมฆก้อน

      2. เมฆสเตรตัส(Stratus Cloud)มีรูปร่างลักษณะเป็นเมฆแผ่นหรือเมฆชั้น

      3. เมฆเซอรัส(Cirrus Cloud )มีรูปร่างลักษณะเป็นเมฆที่เป็นริ้ว ๆ  คล้ายขนสัตว์

แบ่งตามระดับความสูงของเมฆ สามารถแบ่งได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ

      1.  เมฆชั้นสูง (High Clouds)จะอยู่ที่ความสูง
6,000- 18,000 เมตรขึ้นไป ส่วนใหญ่ จะเป็นผลึกน้ำแข็ง เนื่องจากอยู่ที่ระดับสูงมากมีสีขาวหรือเทาอ่อน  เมฆระดับสูงมีอยู่ 3 ชนิด ดังนี้   

 

     1.1  เมฆเซอรัส (Cirrus Cloud)  

มีลักษณะเป็นแผ่นบางสีขาวเจิดจ้าหรือสีเทาอ่อน ดวงอาทิตย์สามารถส่องผ่านได้อย่างดี เกิดจากผลึกน้ำแข็งขนาดจิ๋วมีหลาย ๆ รูปทรง เช่น เป็นฝอย เป็นปุยคล้ายใยไหม  คล้ายขนนกบาง ๆ หรือเป็นทางยาว

       1.2  เมฆเซอโรสคิวมูลัส

( Cirrocumulus  Cloud ) มีลักษณะเป็นสีขาวก้อนเล็ก ๆ  คล้ายระลอกคลื่นหรือปุยนุ่น

 

       1.3  เมฆเซอโรสเตรตัส  

(Cirrostratus Cloud)  มีลักษณะคล้าย

กับเมฆเซอรัสแต่จะแผ่ออกเป็นแผ่นเยื่อบาง ๆ ต่อเนื่องเป็นแผ่นตามทิศทางของลมในระดับสูง  เมฆชนิดนี้ทำให้เกิดวงแสงรอบ ๆ

ดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ เรียกว่า  การทรงกลด     

2. เมฆชั้นกลาง(Middle Clouds )จะอยู่ที่ความสูงระหว่าง 2,000 - 8,000 เมตร มีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้

      2.1  เมฆอัลโตคิวมูลัส

( Altocumulus Cloud ) มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนเล็ก ๆ มีลักษณะเป็นคลื่นเป็นลอนคล้าย ฝูงแกะที่อยู่รวมกัน ก้อนเมฆมีสีขาวหรือสีเทา

       2.2  เมฆอัลโตสเตรตัส      

(Altostratus Cloud)มีลักษณะเป็นแผ่นปกคลุมบริเวณกว้าง   บริเวณฐานเมฆจะเป็นสีเทาหรือสีฟ้า สามารถบังดวงอาทิตย์หรือ

ดวงจันทร์ ทำให้เห็นเป็นฝ้าๆ อาจทำให้เกิดฝนละอองบางๆได้

3. เมฆชั้นต่ำ (Low Clouds) จะอยู่ที่ความสูงไม่เกิน 2,000 เมตร มีอยู่ 3 ชนิด ดังนี้

   3.1 เมฆสเตรตรัส

(Stratus Cloud)  มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นชั้นสีเทา  รวมตัวกันอยู่เป็นบริเวณไม่กว้างมากนัก บางครั้งอาจเกิดในระดับต่ำมากคล้ายหมอก จะเคลื่อนที่ตามลมได้เร็วและอาจทำให้เกิดฝนละอองได้ บางครั้งจะเห็นปกคลุมอยู่บนยอดเขา

   3.2 เมฆสเตรโตรคิวมูลัส  

(Stratocumulus Cloud)  มีลักษณะเป็นก้อนกลมคล้ายเมฆคิวมูลัส แต่เรียงติดกันเป็นแถว ๆ รวมกันคล้ายคลื่น บางครั้งอาจจะแยกตัวออกเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยเมฆก้อนเล็ก ๆ

จำนวนมาก

   3.3 เมฆนิมโบสเตรตัส  

(Nimbostratus Cloud)มีลักษณะเป็นแผ่น สีเทาเข้มปกคลุมเป็นบริเวณกว้างมาก ทำให้เกิดฝนหรือหิมะตกในปริมาณเล็กน้อยถึงปานกลางต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ ได้เมฆชนิดนี้ไม่มีฟ้าแลบฟ้าร้อง  

 

4.  เมฆก่อตัวในแนวตั้ง(Clouds with Vertical Development)จะเกิดเมื่ออากาศเหนือพื้นดินเมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นและเกิดเป็นเมฆ มีอยู่ 2 ชนิด  

 

      4.1  เมฆคิวมูลัส

( Cumulus Cloud)เป็นเมฆที่ลอยตัวขึ้นช้าๆพร้อมกับอากาศที่ลอยตัวสูงขึ้น ถ้าขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ อาจพัฒนาเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัสได้ มีลักษณะหนาทึบกระจัดกระจายเหมือนก้อนสำลี

   4.2 เมฆคิวมูโลนิมบัส  

(Cumulonimbus Cloud)เป็นเมฆหนา ก้อนใหญ่ก่อตัวสูงมาก บางครั้งยอดเมฆจะแผ่ออกเป็นรูปทั่งทำให้เกิดฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ลมแรง บางครั้งมีลูกเห็บตก จึงเรียกว่า เมฆฝนฟ้าคะนอง

bottom of page